วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ฝึกวาดรูปทรงเรขาคณิตจากภาพถ่าย. (Represent Geometric)

ฝึกวาดรูปทรงเรขาคณิตจากภาพถ่าย

(Represent Geometric still life) 



Thank you: Ms. Diamond-Ceramics This Video is
represent from http://blogs.ccsd.edu/diamond-ceramics/2013/01/02/geometric-still-life/


       ฝึกวาดหุ่นปูนเรขาคณิตจากภาพถ่ายค่ะ  การฝึกวาดเส้นจากภาพถ่ายจะง่ายสำหรับผู้เริ่มต้น รองจากการลอกจากภาพวาดค่ะ การลอกจากภาพวาดจะง่ายกว่าตรงที่เราจะเห็นรูปแบบการสานเส้นที่สวยงามจากต้นแบบอยู่แล้ว เวลาลอกเราก็ไม่ต้องคิดมากแค่ดู สังเกต และศึกษาตามแบบไปก่อน แต่เมื่อเป็นภาพถ่ายแล้ว จะไม่มีทิศทางของลายเส้นให้เราดู และการไล่แสงเงาก็เนียน ละเอียดกว่าภาพวาด
       ทีนี้ เราก็ต้องมาคิดเองแล้วล่ะค่ะ ว่า เราจะสานเส้นไปทางไหนดีนะ  แต่สำหรับผู้เริ่มต้นจริงๆแล้ว ก็เริ่มจากสานเฉียง 45 องศา ในจังหวะเท่าๆกันไปก่อนก็ได้ค่ะ ก็จะได้เส้นที่เรียบร้อยประณีต และดูนุ่มนวล โดยไม่ยากนักค่ะ



ดูขั้นตอนการวาดตามนี้เลยค่ะ. www.youtube.com/watch?v=ArEz-7UceLw

        เริ่มจากสังเกตหุ่นโดยรวมค่ะ มองให้เป็นกลุ่มก้อนแล้วร่างกะขนาดให้พอดีกับหน้ากระดาษ ไม่เล็กไป ไม่ใหญ่จนล้น มีที่ว่างโดยรอบพอประมาณ เสร็จแล้วก็ร่างรายละเอียดเป็นเป็นโครงสร้างของรูปทรงเรขาคณิตแต่ละอัน  โดยพยายามร่างให้เบาที่สุด แต่มันก็จะมีเส้นยุ่งๆที่เราไม่ต้องการใช่มั้ยคะ  ให้เราเอายางลบนิ่มดูดออก ให้เหลือเส้นบางๆจนเกือบมองไม่เห็นเลยค่ะ เสร็จแล้วก็เอาปลายดินสอแหลมๆ แต่งเส้นให้คมชัดเข้มพอประมาณ แต่ไม่ต้องเข้มจนดำค่ะ

        เสร็จแล้วให้เอาข้างดินสอ แรเงาไล่ระดับความเข้มที่ละชั้น ทั่วๆภาพ พยายามอย่าเพิ่งเจาะจงวาดจุดใดจุดหนึ่งจนเข้ม เพราะจะทำให้เราคุมภาพรวมของงานลำบาก งานจะดูเสร็จยากค่ะ

        พอถึงน้ำหนักเกินระดับ 3 ใน 7 หรือ 9 ไปแล้วให้เริ่มให้ใช้ปลายดินสอสานเส้นทำน้ำหนักแทนค่ะ เพราะถ้าเราแรเงาจนเสร็จหมดจะทำให้เส้นไม่เรียบร้อยเท่าที่ควรสำหรับการทำข้อสอบค่ะ

        พอสานเส้นจนเข้มที่สุดที่เงาเข้ม และเงาตกทอดแล้วเราก็ค่อยเอาดินสอปลายเแหลมที่สุด มาตัดเส้นค่ะ เทคนิคที่จะทำให้เส้นที่ตัดไม่โดดออกมาเหมือนภาพการ์ตูน สำหรับการวาดภาพเหมือนให้สมจริงคือให้เราตัดเส้นให้เข้มเท่ากับระนาบของน้ำหนักด้านใดด้านหนึ่งค่ะ  เช่น ตอนที่ตัดเส้นด้านที่มีเงาตกทอดก็เกลี่ยน้ำหนักเส้นให้เข้ากับด้านที่เป็นเงาค่ะ เท่านี้ ก็จะทำให้งานเนียน เรียบร้อยขึ้นแล้วค่ะ

        บทเรียนนี้ ก็จบลงเท่านี้ก่อน คราวนี้พวกเราก็กลับไปลองฝึกหาภาพถ่ายหุ่นนิ่ง หรือถ่ายรูปสิ่งของรอบๆตัว เลือกจากรูปทรงง่ายๆมาวาดดูก่อนค่ะ จะทำให้เราคุ้นเคยกับการวาดเส้นมากขึ้น  ก่อนที่จะพัฒนาไปวาดจากหุ่นจริงค่ะ


        ^-^ สวัสดิ์ดีค่ะ

         ปล. ขอบคุณสำหรับคำแนะนำเรื่องภาพสั่นไหวนะคะ จะพยายามปรับปรุง เพื่อให้ทุกท่านได้รับประโยชน์มากขึ้นค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วาดเส้นจากสิ่งของที่มีรูปทรงซับซ้อนจากภาพวาด (Represent Complicate Form)

วาดเส้นจากสิ่งของที่มีรูปทรงซับซ้อนจากภาพวาด (Represent Complicate Form)

        สวัสดีค่ะ! หลังจากที่ห่างหายไปนาน เมื่อเราฝึกวาดรูปร่างพื้นฐาน และหัดลงน้ำหนักแสงเงาจากภาพวาดรูปทรงง่ายๆกันมาบ้าง. 
บทความนี้จะเน้นไปในเรื่องการร่างภาพที่ซับซ้อนด้วยรูปร่างง่ายๆที่เป็นพื้นฐานเช่น สามเหลี่ยมสี่เหลี่ยม วงกลม วงรี และเส้น ซึ่งต่อ
เนื่องมาจากบทที่แล้ว ที่วาดกรรไกรกับกระดาษมาค่ะ แต่ในคราวนี้ เราจะมาวาดเจ้าอุปกรณ์หน้าตาแปลกๆตัวนีกันค่ะ
         Hello!  After I disappear long time, then we practiced to draw basic shape and shading an easy 
forms. So this article underline on outline by basic shape such as triangle rectangle circle oval and line.  
These continue from the last article that we draw a scissor and paper. But now we draw this strange 
equipment.

           


        จะเห็นได้ว่าเจ้าเครื่องมือประหลาดชิ้นนี้ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนต่างๆมากมาย ชวนปวดหัว. แต่ไม่ต้องตกใจไปค่ะ เพราะรูปใดๆ
ที่ดูซับซ้อน เราก็มักจะทำให้ง่ายลงได้เสมอค่ะ ด้วยวิธีการมองให้มันเป็นก้อนๆหนึ่ง ที่มีขนาดเท่านั้นเท่านี้แล้วก็จัดการวางให้มันถูกที่
ถูทางซะ เท่านั้นล่ะคะ
          We see it it has many part that may be make we feel headach. But don't worry because the 
compilcat form be easy by simple form.  We see many part as object. We just proper size and positio .

         
      
         ซึ่งในขั้นตอนแรกก็ไม่ต้องกลัวผิด เราแค่วงๆไปกะขนาดกับตำแหน่งกับสิ่งที่ต้องวาดไว้ เพราะยังไงเราก็ต้องมาลบเส้นร่างนี้
อยู่แล้ว จะระวังมากๆก็แค่อย่างเดียวคืออย่าร่างเข้มเกินไป ต้องทำมือเบาที่สุด ให้ได้เส้นจางที่สุด เพื่อความสะดวก และสะอาดของ
งานค่ะ.  

         นี่เป็นคลิปวีดีโอขั้นตอนการวาดภาพนี้ค่ะ
          This is clip video of this picture drawing.


          ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามค่ะ
          Thank you for following. 

          แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้า กับการวาดภาพจากภาพถ่ายค่ะ อย่าลืมเตรียมภาพถ่ายสวยๆ (สิ่งของรอบตัว) เอาไว้เป็นแบบฝึกหัดกันด้วยนะค่ะ สวัสดีค่ะ
          

วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556

วาดมือ (Drawing hand)


วาดมือ (Drawing hand) 



        ลอกภาพมือจากรูปวาด ภาพนี้เราเริ่มวาดจากส่วนที่ใหญ่ที่สุดคือกลางฝ่ามือ แล้วก็เติมข้อมือกับนิ้วมือเป็นก้อนรวมๆก่อน จากนั้นค่อยแบ่งเป็นแต่ละนิ้ว เป็นข้อหักงอต่างๆตามจริงเลย อาจจะยังไม่ถูกต้องนักยังไม่ต้องกังวลเพราะใช้เส้นบางๆ เก็บเส้นรอบนอกให้ครบถ้วนตามตาเห็นแล้วค่อยลบปรับบางส่วนที่ไม่ถูกต้องให้ถูกต้อง เช็คโครงสร้างโดยร่างลงไปด้วยก็ได้ในช่วงนี้ 
        จากนั้นพอได้รูปร่างที่พอใจแล้วก็ใช้ข้างดินสอแรเงาลงไปสามระดับให้มีระยะ ดูลึกแค่ดูออกว่าส่วนไหนซ้อนส่วนไหน จากนั้นเราค่อยใช้ปลายดินสอเก็บรายละเอียดน้ำหนัก สังเกตุว่าตอนแรเงาหยาบๆจะยังไม่ทำนำหนักเข้มสุด เพราะต้องเผื่อน้ำหนักให้รายละเอียดอีกในระดับ 4 5 6 และเงา ร่องต่างๆ ตัดเส้นส่วนที่เข้ม ระดับ 7 8 9 หรือแล้วแต่ตามที่เราสังเกตเป็นหลัก

         This copy hand drawing start from big part that is palm. Than draw wrist and mass of fingers. After that separate each fingers. Draw outline of hand every detail can see. Don't care with wrong line because we can erase after. In adjustment step we will check anatomy, structure, proportion till correct.
         Shade about 3 value of light shadow by side of the pencil lead. That made rough but fast. After that we use sharp pencil to detail surface and fill full the shadow till finish.

วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556

วาดเส้นกระดาษกับกรรไกร (Drawing paper and scissors)

วาดเส้นกระดาษกับกรรไกร (Drawing paper and scissors) 





      คราวนี้ลองลอกภาพวาดกระดาษและกรรไกรกัน เป็นสิ่งของรอบตัวที่ประกอบขึ้นจากรูปทรงไม่ซับซ้อนมาก พื้นผิวด้าน ยังไม่ยากมาก ตอนแรกตัวเราเองก็เอามือกะขนาดภาพวาดก่อนเลยแล้วก็จุด กำหนดขอบรูปไว้แล้วก็ร่างเส้นรอบรูปเช่นเคย ทีนี้ก็ลองซอยวาดสิ่งของแต่ละชิ้นเลยตั้งแต่กระดาษ ช่องกระดาษ กรรไกร แล้วก็ลงน้ำหนักระดับ 1 2 3 4 5 ... ตามลำดับ เน้นเงาแล้วก็ตัดเส้น เช่นเดิม (ป.ล.ขออภัยที่ผมจุกอาจรบกวนสายตา ^-^)

ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามรับชมนะคะ



Try to copy paper and scissors drawing learn to notice easy form in easy things and easy matt surface.

Thank you for watching!

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

วาดเส้นสี่เหลี่ยมบนผ้า (Drawing Squares on fabric)


วาดเส้นสี่เหลี่ยมบนผ้า (Drawing Squares on fabric) 





        อันนี้ก็ยังคงลอกภาพสี่เหลี่ยมอยู่ เป็นภาพจัดวางสี่เหลี่ยมซ้อนกันหลายอัน เวลาเราขึ้นภาพจะวาดภาพรวมหรือเส้นรอบนอกก่อนคร่าวๆเพื่อกะขนาดพื้นที่ของงานโดยยังไม่ต้องกังวลถึงความถูกต้องแม่นยำมากเพราะร่างเส้นเบามาก ลบออกได้ง่าย จากนั้นค่อยแบ่งซอยเข้ามาเป็นสี่เหลี่ยมแต่ละลูก 
        คราวนี้บนพื้นมีผ้า มีรายละเอียดเยอะด้วย เราก็จะร่างรอยยับของผ้าด้วย มีพับใหญ่ๆที่เห็นชัด พับเล็กๆ ส่วนแสงเงาของแต่ละลอนผ้าเราก็ร่างตำแหน่งน้ำหนักไว้บางๆเหมือนกับตอนวาดวงกลมก็ได้ เวลาลงน้ำหนักก็จะลงก้อนใหญ่ๆก่อน ส่วนรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเราค่อยลงน้ำหนักทับขึ้นมา แต่บางส่วนที่ต้องเว้นพื้นขาวก็ต้องร่างไว้ก่อนให้ชัดเจนป้องกันลงน้ำหนักทับเกินเข้าไปเช่นร่องผ้าที่สะท้องแสงบางแห่ง และขอบของแท่งสี่เหลี่ยม

        This is still copy squares but they have many piece on fabric. When start we will draw outline of all square with fade line. Don't care about correct position because it can erase afterward. When we finish place image on paper then we divide detail inner. There are many squares and crease inside.

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

วาดเส้นสี่เหลี่ยม (Drawing square)


วาดเส้นสี่เหลี่ยม (Drawing square) 






        ลองลอกภาพวาดสี่เหลี่ยมดู ทำความเข้าใจเรื่องแสงเงาของระนาบ หรือคือการทำพื้นเรียบต่อพื้นเรียบด้วยน้ำหนักที่ต่างกันอย่างไรให้ได้เป็นกล่อง
        จากในคลิปนี้ตอนแรกเห็นวงๆมือนี่เป็นการกะขนาดรูปที่จะวาดต่อหน้ากระดาษ(อันนี้แค่เป็นนิสัยส่วนตัวเฮยๆ ^-^") เราจะชอบวางภาพรวมก่อน อย่างสมมุติในรูปมีกล่อง 2 อันเราจะไม่วาดทีละกล่องแต่จะมองทั้งสองกล่องแล้วร่างขึ้นมาคล้ายๆเป็นก้อนเดียวกันเมื่อเทียบกับพื้นที่ว่างของภาพเสร็จแล้วค่อยมาแบ่งก้อนนั้นออกเป็นสองกล่อง แล้วค่อยปรับโครงสร้างใส่โครงของกล่องสี่เหลี่ยมลงไป ร่างเหมือนเดิม เติมพื้นเติมอะไรเสร็จแล้วก็ลงน้ำหนัก ลงจากอ่อนกระจายไปทั่วภาพ เราจะไม่ลงให้เสร็จทีละจุดแต่ลงให้ทั่วทั้งภาพแล้วค่อยๆเพิ่มให้เข้ม จนเสร็จแล้วก็ตัดเส้น เกลี่ยให้เนียน เป็นอันเสร็จ

        Try to copy square drawing learn about shadow of plane. To do flat to flat by different value of shadow to create boxes.

วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

วาดเส้นวงกลม (Drawing Circle)


วาดเส้นวงกลม (Drawing Circle)




        เริ่มต้น ฝึกวาดวงกลมจากภาพวาดวงกลมของคนอื่นก่อน โดยเริ่มจากวาดวงกลมให้กลมก่อน ใช้ดินสอEEนี่แหละวาด พยายามบังคับน้ำหนักมือให้ได้ ใหม่ๆจะลำบากหน่อยเพราะดินสอนี้มันเข้มมาก 
        พยายามร่างให้จางที่สุดลบน้อยที่สุดช้ำน้อยที่สุด อย่าลืมกะขนาดให้พอดีกับหน้ากระดาษด้วย ไม่ใหญ่เกิน หรือเล็กเกิน เรากะๆเอาให้พอมีที่ว่างรอบรูปเหลือบ้าง จากนั้นก็ร่างพื้นเป็นเส้นตรงด้านหลังของวงกลมเส้นนี้จทำให้เราได้พื้น(ที่ตั้งวงกลม) กับพื้นหลังหรือฉากหลังนั่นเอง 
        สังเกตแสงเงาของวงกลม บางคนอาจจะกะโดยเอาดินสอวงเบาๆเป็นส่วนของน้ำหนักขาวเทาดำ แต่ละระดับก็ได้ แล้วค่อยระบายน้ำหนักลงไปโดยเริ่มจากลงจางๆให้ทั่วภาพก่อน แล้วค่อยไล่ไปเป็นน้ำหนักเข้มขึ้น จนเข้มสุด ตอนน้ำหนักเบาแรกๆ(ประมาณ123)เราก็ใช้ข้างดินสอก็ได้ แรเงาเป็นบริเวณกว้างๆ ให้ได้พื้นที่มากๆ งานจะได้เสร็จไวๆและไม่ต้องเปลืองแรง 
        พอได้น้ำหนักเข้มข้นแล้วเราค่อยเริ่มใช้ดินสอปลายแหลมสานเส้นไล่น้ำหนักจนเข้มครมทั้งภาพ ทีนี้พอเสร็จแล้วภาพมันจะยังเบลอๆไม่ค่อยชัดเจน เราก็เอาดินสอปลายแหลมสุดมาตัดเส้น ข้อสังเกตเวลาตัดเส้นให้ระวังอย่าให้น้ำหนักของเส้นเข้มเกิน จนโดดเด้งออกมา แต่ให้พยายามตัดเส้นน้ำหนักใกล้เคียงกับระนาบฝั่งใดฝั่งหนึ่งของเส้นแล้วไล่น้ำหนักจากเส้นให้กลืนไปทางนั้น งานจะเนียนกว่า

        First step practice drawing circle from other's drawing. Use EE pencil to draw a circle round. It may be difficult for a beginner because it is very dark pencil.
        Trying to fade the most. And don't forget to size the image to suit the paper. Not too big and Not too small. Leave a space around the image. Then draw a line on the back that will divided the ground below. And behind the scenes.
        Notice the shadow of circle. Some one may be drawn to divided area you want to shade. Light shading around the image. Then slowly increase the dark up.
        Finally, use a sharp pencil cut. Be careful not to use too dark line that made the picture unrealistic. Trying to spread harmony with one side.



วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

เหลาดินสอ EE (EE pencil sharpener)


เหลาดินสอ EE (EE pencil sharpener)




        เหลาดินสอEE เตรียมวาดเส้นสอบเข้า โดยเริ่มจากเหลาเนื้อไม้ออก โดยวางมีดตามเหลื่ยมของดินสอ เหลาเนื้อไม้ออกจนเห็นไส้ดินสอยาวพอประมาณ แล้วก็เหลาไส้ดินสออกให้ปลายแหลม ในระหว่างเหลาให้หมุนดินสอไปทางเดียวกันตลอด ทำเช่นนี้จนถึงปลายดินสอให้จับใบมีดตั้งฉากกับไส้ดินสอตรงปลายแล้วก็ปาดปลายดินสอหมุนไปเรื่อยๆ จนดินสอแหลมคมมาก จนถึงมากที่สุด (ระวัง! อาจเสียบเพื่อนตายได้ 555+ เป็นการสกัดดาวรุ่ง) 

        เหลาดินสอเตรียมไว้หลายๆแท่งเพราะตอนสอบมีเวลาจำกัดจะได้ไม่ต้องเสียเวลาเหลา เราก็เหลาเตรียมไว้สักหนึ่งถึงสองโหลแล้วหากล่องมาใส่อาจเอาฟองน้ำมารองเพื่อไม่ให้ปลายมันหัก แล้วก็พยายามอย่าทำดินสอตกเพราะไส้มันจะหักในเพราะอาจทำให้เหลาเท่าไหร่ก็ออกมาหักหมด น่าเสียดายนะ ^-^

        Sharpening EE pencil to drawing exams. Starting sharpen wood out from these pencil. By placing the knife on its edge. Sharpen wood out long until see pencil lead. And cut a pencil lead to sharp. While sharpen must roll  a pencil always. because this made it sharp balanced. When sharp in the end catch the knife vertical with end of pencil lead and slice off it.

เกริ่นนำ "Free art tutor"


"Free art tutor" 




        น้องๆ ม.ปลายหลายคนที่กำลังจะสอบเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร เพื่ออนาคต หน้าที่การงาน เพื่อครอบครัวหรือเพื่อตัวเอง หรือตามค่านิยม หรืออาจจะยังไม่รู้อะไรเลยอยู่ก็ได้ แต่ก็ต้องสอบๆไป  จะถึงอย่างไรก่อนสอบก็ต้องมีการ "เตรียมตัว"  แต่จะเตรียมตัวอย่างไรนั้นก็มีหลายวิธี หลายคนเลือกที่จะไปเรียนที่โรงเรียนกวดวิชาซึ่งก็มีค่าใช้จ่าย แต่ก็นับว่าคุ้มถ้าสอบติด

อันที่จริงปัจจัยที่จะทำให้สอบติดมันก็มีหลายอย่างด้วยกัน ทั้งความตั้งใจ ความขยัน ขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติม ทั้งหมดนี้มันอยู่ที่ความพยายามของตัวเราเองเป็นหลัก ศิลปะเป็นงานสร้างสรรค์ที่อาศัยฝีมือ ซึ่งสามารถฝึกฝนได้ ถือเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่เมื่อทำบ่อยๆก็จะเกิดความชำนาญ  ศิลปะเน้นการปฏิบัติงานเป็นหลัก ต้องลงมือทำจริงถึงจะเป็น ดังนั้นการสอบติดศิลปะก็ขึ้นอยู่กับมือเราแล้ว มิใช่มือใคร




        การฝึกฝนทักษะทางศิลปะเพื่อเตรียมตัวสอบเข้านั้นสามารถทำได้ด้วยตนเอง หากมุ่งมั่นตั้งใจ ก็จะสอบติดอย่างแน่นอน โดยทั้งนี้ต้องรู้จักขวนขวายหาข้อมูลจากผู้รู้ด้วย  การที่เรารู้โจทย์  รู้เทคนิคและกฏกติกาของการสอบ ก็จะทำให้เรามีแนวทางในการฝึกและมีโอกาสสอบติดมากยิ่งขึ้น  ทีนี้เห็นรึยังว่าการสอบติดมันไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแต่เราต้องรู้ว่าเราจะสอบอะไร ทีนี้มันก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเข้าเรียนศิลปะด้านใด คณะอะไร มหาวิทยาลัยไหน  เพื่ออะไร   คำสุดท้ายนี้แหละที่สำคัญที่สุดคือ "เราเรียนศิลปะไปเพื่ออะไร" ถ้าน้องตอบใจตัวเองได้แล้ว น้องก็จะรู้ว่าน้องต้องทำอะไรต่อไป

ทีนี้เราต้องดูตัวเราเองก่อนว่าเราเป็นใคร มีความสนใจด้านไหน ถนัดอะไร บางคนอาจจะตอบตัวเองได้ไวก็ดีไป แต่บางคนอาจจะยังตอบตัวเองไม่ได้ก็ต้องค้นหา โดยลองทำกิจกรรมดู แล้วก็ดูว่าเราทำแล้วรู้สึกยังไง ชอบไม่ชอบ ดีมั้ย แล้วถนัดหรือทำได้ดีหรือเปล่า  โดยปกติหากเราทำอะไรได้ดี หรือถนัด เราก็จะชอบสิ่งนั้นโดยปริยาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องระวัง ระวังว่าเราชอบใจในคำชม หรือเราพอใจที่เราได้ทำงานๆนั้นจริงๆ ซึ่งมันควรจะเป็นอย่างหลัง เพราะหากเราชอบใจในคำชมความรู้สึกนั้นๆมันก็จะไม่ยั่งยืน เช่น หากน้องวาดรูปได้แล้วมีคนมาชมว่าน้องวาดสวย น้องก็เลยรู้สึกดี น้องก็เลยคิดว่าน้องอยากเรียนศิลปะเพราะน้องอยากเป็นศิลปิน แต่ปรากฏว่าพอมาเรียนแล้วมีคนมาบอกว่างานที่น้องวาดยังไม่ดี ต้องแก้โน่นแก้นี่แล้วน้องก็ไม่อยากวาดแล้ว อย่างนี้จะลำบาก  ดังนั้นเวลาน้องทดลองทำกิจกรรมอะไรให้เอาความรู้สึกของเราไปจับที่งาน จับความรู้สึกในขณะที่ทำงานว่ามีความสุข พอใจหรือไม่ โดยไม่ได้ให้น้ำหนักที่คำชมมาก ในช่วงม.ปลายนี้ลองทำกิจกรรมให้หลากหลายจะได้ค้นหาตัวเองดู อาจมีหลายมุมที่เรายังไม่เคยรู้จักตัวเองก็ได้




เมื่อเรารู้จักตัวเองแล้วเราก็จะเริ่มเห็นปลายทางลางๆแล้ว เช่นว่าเราถนัดวาดรูปนะ เราน่าจะเป็นอะไร ทำอะไรได้บ้าง  บางคนอาจจะถนัดออกแบบเพราะลองช่วยเพื่อนทำหนังสือรุ่นมาแล้วรู้สึกดี  บางคนอาจจะปั้นเก่ง ชอบปั้นดินน้ำมัน   หรือบางคนชอบวาดตึก สนใจวิธีการสร้างบ้าน  เราก็เริ่มสังเกตุว่าทักษะที่เราพอมี กับความสนใจตรงนี้ มันจะต่อยอดเป็นอาชีพอะไรได้บ้าง  เพื่อให้ภาพปลายทางมันชัดเจนยิ่งขึ้นน้องๆก็ต้องลองตามหาต้นแบบดู  ตามหาไอดอลของเรา  ไอดอลคือบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิต เรารู้สึกชอบ ชื่นชมในตัวเขาและอยากจะประสบความสำเร็จเช่นเขาบ้าง เราจึงเรียนรู้วิถีการดำเนินชีวิตอย่างเขาเหล่านั้น  เช่นว่า เราชื่นชอบอาจารย์เฉลิมชัย อาจารย์เป็นศิลปิน  เราก็มุ่งตรงเข้าคณะจิตรกรรมเลย  แต่หากไม่ชัดมากแค่พอรู้ว่าชอบด้านไหนก็ลองแยกย่อยลงไปให้ละเอียดดู เช่นชอบกราฟฟิก กราฟฟิกอะไร  คอมฯหรือ ภาพพิมพ์  ถ้าเป็นคอมฯนี่ ภาพนิ่งหรือเคลื่อนไหว 2 มิติ หรือ 3 มิต  หรือชอบออกแบบเวปไซต์ หรือสื่อสิ่งพิมพ์    ที่ต้องถามแยกย่อยขนาดนี้ก็เพื่อความชัดเจนว่าเราต้องเรียนต่อทางด้านไหน จึงจะเป็นในสิ่งที่ต้องการได้

พอได้คำตอบชัดเจนแล้วว่า "ฉันจะเป็นอะไร" ก็เก็บไว้ในใจ หรือจดไว้ก็ได้ เรียงลำดับหากมีหลายอย่าง  แล้วเราก็ไปหาข้อมูลกันว่าคณะที่เราสนใจมันมีอะไรบ้าง หาให้เยอะที่สุดเท่าที่ทำได้ ไม่ควรเจาะจงว่าจะต้องเข้าแต่สถาบันดังๆเท่านั้น เพราะว่าถ้าไม่อย่างนั้นเราก็จะพลาดโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย

เมื่อเราได้เป้าหมายในชีวิตแล้ว และได้ข้อสรุปว่าจำเป็นต้องเข้าเรียนในคณะอะไร ของมหาวิทยาลัยไหน และสาขาใดแล้ว เราก็ตรวจสอบช่วงเวลาเปิดรับสมัครของคณะนั้น สาขาที่เราต้องการ ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีช่วงการเปิดรับสมัครไม่เหมือนกันซึ่งเป็นการ"รับตรง" หรือ "สอบตรง" โดยมหาวิทยาลัยเอง เราต้องคอยตรวจสอบหาข้อมูลวงในจากผู้รู้ หรือหาเอาตามเวปไซต์ของคณะก็ได้เช่นกัน   ส่วนการสอบ "ส่วนกลาง" หรือ แอดมิดชั่น ที่ใช้เกรดเฉลี่ยสะสม คะแนนโอเนต แกต แพต ยื่นจะเปิดรับสมัครในช่วงเดือนเมษายน หรือเช็คในเวป http://www.cuas.or.th/index.php เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการแล้วเราก็เตรียมพร้อมสำหรับการสอบได้เลย

ทีนี้เราก็มาหาข้อมูลกันว่า ข้อสอบในสาขาที่เราจะสอบเข้าเค้ามีกฏกติกาอะไรบ้าง สอบอะไรบ้าง  โดยส่วนใหญ่แล้วก็จะแบ่งออกเป็นข้อสอบภาคทฤษฎี กับข้อสอบปฏิบัติ
ข้อสอบภาคทฤษฏี จะมีวิชาทั่วไป เช่น วิทย์ - คณิต  ภาษา-สังคม และ ความรู้ทั่วไปทางศิลปะ   ส่วนข้อสอบปฏิบัติจะมีวิชาวาดเส้น และวิชาเฉพาะของสาขานั้นๆ เช่น ออกแบบ  สร้างสรรค์ หรือองค์ประกอบศิลป์

เมื่อรู้ข้อสอบแล้วก็ลองหาโจทย์เก่าๆย้อนหลังมาทำดู  โดยส่วนใหญ่แล้วข้อสอบทางศิลปะโจทย์ก็จะไม่ได้ลึกลับซับซ้อนอะไร คือบอกให้รู้ๆกันไปเลยว่าต้องทำอะไรบ้าง แต่ถึงรู้ก็ใช่ว่าจะตอบถูกเพราะการจะตอบโจทย์ได้เราต้องปฏิบัติ เราต้องวาดรูปนี่น่ะซี่  ถ้าหากว่ารู้โจทย์แล้ววาดไม่ได้ก็สอบไม่ติดไงล่ะ  เช่นสมมุติว่าโจทย์ออกมาให้วาดมือ ภายในเวลาสามชั่วโมง  หรือมือถือกล่องนม  หรือม่าม่าแกะห่อแล้วเห็นซองมันๆ จะวาดได้หรือไม่ แล้วจะวาดได้มีคุณภาพแค่ไหน  นี่แหละคือโจทย์วาดเส้น

ส่วนโจทย์สร้างสรรค์นั้นแล้วแต่ภาควิชา  ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า งานสร้างสรรค์คือสื่อ ประกอบด้วยรูปร่าง และนามธรรม ที่สามารถสื่อถึง เรื่องราว และอารมณ์ได้  เช่น หมาน้อยผู้น่าสงสาร  คำนี้ประกอบด้วยเรื่องก็คือหมาน้อย  เราอาจนึกถึงภาพหมาที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ ส่วนความน่าสงสารนี้คืออารมณ์ความรู้สึกเป็นนามธรรมที่จับต้องไม่ได้แต่ก็อาจเห็นได้ด้วย เราอาจนึกถึงภาพหมาตัวเล็กๆเนื้อตัวเปียกปอนมอมแมม ผอมโซเหลือแต่โครงกระดูกตาลึกโหลปูดบวมดูน่ารักแต่ก็น่าสงสาร นั่งอยู่ข้างทางเดินในเมืองหลบผู้คนสัญจรด้วยความหวาดกลัว บรรยากาศสีเทามัวและมืดครึ้ม  เช่นนี้เป็นต้น เราจะสารมารถใช้ เส้น สี แสงเงา องค์ประกอบต่างๆที่ทำให้เกิดภาพเรียกว่าองค์ประกอบศิลป์มาสร้างเรื่องราวและอารมณ์ให้กับภาพ นี่หละคืองานศิลปะ

กลับเข้ามาสู่โจทย์ ทีนี้ข้อสอบก็จะกำหนดตัวใดตัวหนึ่งมาให้เรา เขาอาจกำหนดเรื่องมาให้แล้วให้เรา คิดอารมณ์เอง เช่น ให้เรื่อง"สึนามิ"มา เราก็ต้องคิดแล้วว่าเราจะให้คนดูรู้สึกยังไงกับเหตุการณ์"สึนามิ" อาจรู้สึกถึงความเศร้า หดหู่ หรือรู้สึกน่ากลัว  เราก็วาดภาพให้เป็นเหตุการณ์นั้นๆที่ดูน่ากลัว ตามที่เรากำหนดให้ได้ หากผลงานที่ได้มีคุณภาพ ก็จะสอบผ่าน  หรือถ้าข้อสอบกำหนดอารมณ์มาให้ เราก็ต้องคิดเรื่องราวเอง  เช่น กำหนดโจทย์ว่า "ความเศร้า" เราอาจจะเห็นภาพคนร้องไห้  งานศพ  ความตาย  อุบัติเหตุ ฯลฯ เรื่องอะไรก็ได้แล้วแต่เราจะสร้างสรรค์ แต่คิดว่าวาดออกมาแล้วคนดูต้องเข้าใจไปกับเราด้วยว่ามันเศร้านะ  ไม่ใช่วาดภาพคนร้องไห้ออกมาแล้วคนอื่นดูแล้วเข้าใจว่า คนร้องไห้ดีใจ อันนี้มันก็จะผิดโจทย์ ก็สอบไม่ผ่าน

ส่วนงานออกแบบก็คล้ายกันคือ มีรูปร่าง และอารมณ์ ต่างกันตรงที่ ภาพที่เขียนคือสิ่งของที่มีหน้าที่ใช้สอยด้วย ก็จะต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย ในมุมของผู้ใช้  ความแปลกใหม่และดึงดูดใจของหัวข้อ  คือจะให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องราว และประโยชน์ใช้สอย มากขึ้นจึงเกิดเป็นแนวความคิดในการออกแบบ หรือที่เรียกว่า "คอนเซป" ขึ้นมา เช่น โจทย์ให้ "ออกแบบห้องสมุดเคลื่อนที่สำหรับคนพิการ"อันนี้ก็ต้องดูโจทย์ว่าเขาต้องการอะไรบ้าง ส่วนใหญ่จะกำหนดสิ่งของมาให้ และก็จะรู้หน้าที่โดยทั่วๆไปของมันโดยปริยาย ทีนี้ส่วนที่เราต้องคิดเพิ่มแน่นอนก็คือเรื่องราว และอารมณ์ของห้อง  นอกจากนี้เรายังอาจคิดหน้าที่หรือประโยชน์ใช้สอยของมันให้ต่างจากปกติได้บ้าง ก็จะดูน่าสนใจดี หาก ประโยชน์ใช้สอยสอดรับกับเรื่องราวและอารมณ์ ก็จะทำให้งานสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

การจะฝึกทำข้อสอบให้เกิดความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้จนมีความมั่นในเมื่อก้าวเข้าสู่สนามสอบไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องใช้เวลามาก และความพยายาม หากน้องๆสามารถที่จะค้นพบคำตอบว่าตัวเองต้องการสิ่งใดในชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว เราก็จะมีเวลาไว้ฝึกฝีมือมาก ซึ่งก็จะทำให้เรามีโอกาสสอบติดในเวลาอันสั้นมากเท่านั้น ทีนี้พวกเราก็เริ่มตัดสินใจได้แล้วว่าเรากำลังจะทำอะไรในชีวิตต่อไปดี