วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เกณฑ์การให้คะแนนวิชาวาดเส้น



เกณฑ์การให้คะแนน

สำหรับผู้ที่ต้องการสอบเข้า หรือเรียนต่อมหาวิทยาลัยทางด้านศิลปะและการออกแบบ คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องวาดเส้นแข่งกับคนอื่นๆนะคะ ทีนี้จะรู้ได้ยังไงว่าภาพวาดของเราสวย หรือมันดีกว่าของคนอื่นไหม? เราควรจะได้คะแนนเท่าไร? ยิ่งคนฝึกวาดคนเดียวนี่เคว้งคว้างน่าดูเลย โชคดีค่ะที่ตัวเรา(ผู้เขียนเอง)มีอาจารย์ดี(ครูเป้า ร.ร.เบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี ได้เรียนด้วยตอนปี พ.ศ. 2548-49) คอยอบรมสั่งสอนให้คำแนะนำ เรามีเพื่อนกลุ่มเล็กๆที่ฝึกอยู่ด้วยกันไม่ใหญ่มาก ไม่ค่อยมีอารมณ์แข่งขันกันเท่าไร (รู้สึกชิวๆ ^0^) แต่ตัวครูเรา ท่านมีเกณฑ์การให้คะแนนที่สูงมากกกก =.=" ซึ่งตอนที่เราฝึกนั่นก็ไม่รู้หรอกค่ะว่ามันสูงแค่ไหน มารู้เอาตอนที่สอบติดไปแล้วและเรียนจบมา มีโอกาสได้มาสอนเด็กๆที่สตูดิโอนี่แหละ ถึงได้รู้ว่า เฮ้ยย ไอที่เราฝึกมานี่ มันโหดมากๆเลยนี่หว่า แล้วไอที่เราสอบติดมานี่คนแข่งกันเยอะมากเลย (ฮ่าๆ) เรานี่บ้านนอกจริงๆ ไม่รู้เลยว่าที่ไหนคนสอบเยอะคนสอบน้อย แต่อาจจะดีแล้วก็ได้ค่ะ ที่ไม่รู้อะไรเลยตอนไปสอบน่ะ =^w^= เพราะเราก็ไม่เครียดและกดดันมากเท่าที่ควรจะเป็น ... แต่คนที่รู้แล้วก็ช่วยไม่ได้นะ อิๆ
สรุป การมีครูที่เกณฑ์การให้คะแนนสูงเป็นเรื่องดีค่ะ...
อะเข้าเรื่อง! เกณฑ์การให้คะแนน(วัดว่างานไหนสวย)ขึ้นอยู่กับ
๑. องค์ประกอบของภาพ???
๒. โครงสร้างและสัดส่วน??
๓. น้ำหนักแสงเงา
๔. รายละเอียดและความเรียบร้อย

ในที่สุดบทความนี้ก็คงต้องยืดยาวออกไปอีกนิด มีน้องๆแอบกระซิบมาว่า "ช่วยแปลไทยเป็นไทยทีพี่" (ฮ่ะๆ)  "องค์ประกอบภาพคืออะไร?" ตอบแบบพื้นๆก่อนนะคะ คือการจัดวางสิ่งต่างๆในรูปภาพให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม และน่าสนใจด้วย... พูดง่ายเนอะ อะดูตัวอย่างดีกว่า
ภาพประกอบที่ ๑ - ภาพเล็กเกินไปเมื่อเทียบกับขนาดกระดาษ จะได้พื้นที่ว่างที่เหลือกรอบๆรูปมากเกิน ให้ความรู้สึกหลวมๆ เหงาๆ (เอ๊ะเราคิดมากไปรึเปล่า ^.^")
 
ขออธิภายเพิ่มเติมสักนิด เรื่องพื้นที่ว่างเชิงบวกค่ะ อันนี้คือพื้นที่ในตัววัตถุ รู้สึกจับต้องได้
พื้นที่ว่างเชิงลบ อันนี้เป็นพื้นที่นอกตัววัตถุ เป็นที่ว่างที่จับต้องไม่ได้



ในกรณีนี้พื้นว่างจะมีปริมาณเยอะกว่าพื้นที่ในตัววัตถุมากเลยค่ะ




ภาพประกอบที่ ๒ - ภาพใหญ่เกินไปเมื่อเทียบกับขนาดกระดาษ จะได้พื้นที่ว่างรอบๆรูปน้อยเกินไป ให้ความรู้สึกคับ แน่น น่าอึดอัด
พื้นที่บวก

พื้นที่ลบ

เปรียบเทียบปริมาณ




ภาพประกอบที่ ๓ - ภาพขนาดพอดี มีพื้นที่ว่างรอบๆรูปที่ให้ความรู้สึกว่าเท่าๆกันกับพื้นที่ในตัวรูป

พื้นที่บวก

พื้นที่ลบ

เทียบปริมาณ



ภาพประกอบที่ ๔ - ภาพที่จัดตำแหน่งไม่พอดี เอียงไปทางด้านนึง จะให้ความรู้สึกว่าภาพมันเอียง


ภาพที่ ๓ จะเป็นภาพที่จัดองค์ประกอบได้เหมาะสมสุดในที่นี้ค่ะ ในเบื้องต้นก็จัดแบบไว้กลางภาพให้ได้แบบนี้ไปก่อน ถึงแม้ว่ามันจะดูไม่น่าสนใจนักแล้วก็ให้ความรู้สึกนิ่งๆ แต่มันเป็นเบสิคง่ายๆค่ะ ก็เราวาดหุ่นนิ่งนี่เนอะ ^.^"
"โครงสร้าง" คงไม่ต้องพูดเยอะ เพราะเข้าใจง่ายๆว่าเราขึ้นหุ่นให้มันดูตั้งอยู่ได้อย่างนั้นจริงๆ ไม่ล้ม ไม่บิ้ดๆเบี้ยวๆ

ภาพประกอบที่ ๕ - เปรียบเทียบระหว่างโครงสร้างที่ล้มและบิดเบี้ยวกับโครงสร้างที่เหมาะสม
ภาพประกอบที่ ๖ - ภาพเปรียบเทียบสัดส่วนที่ผิดเพี้ยนของขวดน้ำกับสัดส่วนที่สมจริง

"สัดส่วน" อาจต้องบรรยายหน่อย สัดส่วนก็คือขนาดที่สัมพันธ์กัน ค่อนข้างสำคัญเลยเพราะถ้าวาดผิดไปจากความจริงก็จะเห็นชัดเลยว่าสิ่งของมันมีรูปร่าง รูปทรงที่ผิดเพี้ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราวาดสิ่งของที่คนเห็นจนคุ้นเคยกับมันแล้ว เช่น ขวดน้ำ กระปุกสี ดินสอ ฯลฯ

"น้ำหนัก" คือระดับความอ่อนแก่ของภาพ ภาพที่สวยงามควรจะมีระดับน้ำหนักครบ ตั้งแต่น้ำหนักอ่อนสุดไปจนถึงน้ำหนักเข้มสุด
ภาพประกอบที่ ๗ - เปรียบเทียบระดับน้ำหนักที่ไม่ครบ กับระดับน้ำหนักที่ครบ

"แสงเงา" ตามความเป็นจริง จะทำให้ภาพออกมาดูสมจริงและมีมิติ เหมือนสามารถจับต้องสิ่งของนั้นได้
ภาพประกอบที่ ๘ - เปรียบเทียบแสงเงาที่ผิดจากความเป็นจริง
กับแสงเงาที่สอดคล้องกับความเป็นจริง

สุดท้าย "รายละเอียด"คือคุณลักษณะของพื้นผิว และลวดลายที่ปรากฏบนหุ่น
ภาพประกอบที่ ๙ - เปรียบเทียบงานที่ไม่มีรายละเอียด กับงานที่มีรายละเอียด

และ"ความเรียบร้อย" ในที่นี้คือความเรียบร้อยของเส้นที่ใช้แรเงา

ภาพประกอบที่ ๑๐ - เปรียบเทียบงานที่ไม่เรียบร้อย กับงานที่เรียบร้อย

ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางให้ผู้ฝึกวาดเส้นด้วยตนเองได้ตรวจประเมิณงานของตนเองได้ตามความเหมาะสมค่ะ

        ตอนนี้จ๋ามีเว็บไซต์แล้วค่ะ เชิญอ่านในเว็บไซต์เพิ่มได้อีกที่ค่ะ
http://baanprongmai.com/?page_id=10

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น